เศรษฐกิจสีเขียว...กับการพัฒนาเมืองเพชรบุรีอย่างยั่งยืน
โดย นายกรัณย์ สุทธารมณ์ รองผู้จัดการทั่วไป โรงแรมรอยัล ไดมอน เพชรบุรี


สำหรับจังหวัดเพชรบุรีนั้น ก็มีแนวนโยบายที่สอดรับกับเศรษฐกิจสีเขียว
โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมให้อุตสากรรมในจังหวัดมีการใช้เทคโนโลยีสะอาด มีการปรับตัวของอุตสาหกรรมการผลิตสู่การผลิตแบบ
Green/Low Carbon และการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งนั่นหมายถึงว่าโรงงานต่างๆ
จะมีการกระบวนการผลิตที่ไม่เกิดให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์และชุมชน
เมื่อไม่มีผลกระทบ ชุมชนก็อยู่ร่วมกับโรงงานได้ การร้องเรียนต่างๆก็ไม่เกิด อีกยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ การกำหนดให้เพชรบุรีเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
การมุ่งปรับโครงสร้างภาคเกษตรไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน
การส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ ลดละการใช้สารเคมี
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี รวมถึงการส่งเสริมการฟื้นฟู ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ
เช่น การส่งเสริมการปลูกป่าชายเลน ป่าโกงกาง การควบคุมมิให้เรือประมงคราดหอยมาจับสัตว์น้ำในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม
การส่งเสริมการปลูกป่าต้นน้ำอำเภอแก่งกระจาน หรือการร่วมมือกับภาคเอกชนในการปลูกตาลล้านต้น
เพื่ออนุรักษ์เอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้ดำรงสืบไป
นอกจากนี้เพชรบุรียังเป็นเมืองที่จำหน่ายของฝากชื่อดังแห่งหนึ่งของประเทศ
หากมีการส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ได้มีการผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่กระบวนการผลิต จนถึงบรรจุหีบห่อถึงมือผู้บริโภค
ผลิตไม่มากเกินความต้องการผู้บริโภค สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ก็จะไม่ก่อให้เกิดขยะหรือมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในภาพรวม ขณะที่สำหรับภาคบริการ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม
ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมาก ทั้งวัตถุดิบสำหรับบริการด้านอาหาร
เมื่อทานแล้วก็เกิดเศษอาหาร ทรัพยากรน้ำสำหรับอุปโภคเมื่อใช้เสร็จ
น้ำก็แปลงสภาพเป็นน้ำที่มีการปนเปื้อน ทำให้สูญเสียทันที
หรือหากมีการปล่อยลงทางน้ำสาธารณะก็จะก่อให้เกิดปัญหามลพิษแก่สังคมชุมชน รวมถึงเศษขยะต่างๆจากนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ
ซึ่งถ้าหากขาดการจัดการที่ดีจะส่งผลกระทบย้อนกลับมาทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากมาท่องเที่ยวในจังหวัดเราต่อไปได้ แต่ถ้าหากทุกโรงแรมมีระบบการจัดการที่ดี มีการนำน้ำที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่
มีการนำเศษอาหารเหลือใช้ไปทำก๊าซชีวภาพหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ ก็จะไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมของเรา ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจได้อีกทาง สำหรับภาคขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ก็จำต้องมีการควบคุมกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการทิ้งขยะหรือการปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำสาธารณะ การให้ความรู้และส่งเสริมให้มีการแยกขยะของครัวเรือน ทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะมีพิษ หรือขยะปนเปื้อน รวมถึงอาจมีการรณรงค์ขยายผลในการนำแนวทางของโครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย เช่น การใช้บ่อผึ่ง การใช้พืชน้ำ มาประยุกต์สู่การบำบัดน้ำเสียสู่ภาคธุรกิจ ครัวเรือน หรือโรงงานต่างๆ ในท้องถิ่น ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ล้วนเป็นแนวทางที่คล้ายคลึงกับปรัชญาเศรษฐกิจ ที่มุ่งเน้นความพอประมาณ สมเหตุสมผล ไม่ทำเกินตัว กินพอดี อยู่พอดี ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมถึงไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม
มีการนำเศษอาหารเหลือใช้ไปทำก๊าซชีวภาพหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ ก็จะไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมของเรา ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจได้อีกทาง สำหรับภาคขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ก็จำต้องมีการควบคุมกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการทิ้งขยะหรือการปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำสาธารณะ การให้ความรู้และส่งเสริมให้มีการแยกขยะของครัวเรือน ทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะมีพิษ หรือขยะปนเปื้อน รวมถึงอาจมีการรณรงค์ขยายผลในการนำแนวทางของโครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย เช่น การใช้บ่อผึ่ง การใช้พืชน้ำ มาประยุกต์สู่การบำบัดน้ำเสียสู่ภาคธุรกิจ ครัวเรือน หรือโรงงานต่างๆ ในท้องถิ่น ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ล้วนเป็นแนวทางที่คล้ายคลึงกับปรัชญาเศรษฐกิจ ที่มุ่งเน้นความพอประมาณ สมเหตุสมผล ไม่ทำเกินตัว กินพอดี อยู่พอดี ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมถึงไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม
อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการพัฒนาเมืองเพชรบุรีให้เป็นเมืองเศรษฐกิจสีเขียว
การสร้างสังคมเมืองเพชรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นั่นคือ การจัดให้มีพื้นที่
ตลาดสีเขียว (Green Market)
เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยให้มีช่องทางการจัดจำหน่ายให้มากขึ้น
และเป็นจุดสำหรับการเลือกซื้อสินค้าปลอดภัยแก่ผู้บริโภค รวมถึงเกษตรกรก็ต้องมีจริยธรรม ความซื่อสัตย์
ที่จะต้องไม่ละเลยแนวทางการปลูกพืชผักโดยใช้วีถีอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย ตลอดจนผู้บริโภคเองก็ควรให้กำลังใจแก่เกษตรกรโดยยอมจ่ายราคาของผลิตผลเกษตรปลอดภัยที่สูงกว่าราคาทั่วไปบ้าง
ซึ่งจะทำให้ทุกฝ่ายดำรงอยู่ได้ เพราะนั่นจะหมายถึงว่าคุณภาพชีวิตของคนเพชรบุรีจะมีสุขภาพดีตามไปด้วย
ลดซึ่งสารพิษในร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บลดลง ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก็น้อยลง
รายรับก็จะมากกว่ารายจ่าย ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมปัญหามิจฉาชีพ สารจากเคมีหรือยาฆ่าแมลงที่จะปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติลดลง
ระบบนิเวศก็จะดีขึ้น อีกทั้งนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวยังเมืองเพชรบุรี
นอกจากจะได้รับความประทับใจจากแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายของเพชรบุรีแล้ว และเมื่อได้ใช้ชีวิตบริโภคอาหารที่ดีปลอดภัยจากเมืองเพชร
ก็ยังจะได้รับสุขภาพที่ดีกลับไปอีกด้วย ส่งผลให้นักท่องเที่ยวก็จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ระบบเศรษฐกิจเมืองเพชรบุรี
ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองเพชรก็จะดีตามไปด้วย
ฉะนั้น … ถึงเวลาหรือยัง ที่ทุกภาคส่วนของจังหวัดเพชรบุรีจะมีการพัฒนาเศรษฐกิจ
ที่คำนึงถึงความต้องการของมนุษย์ ควบคู่อย่างเสมอภาคไปกับการพัฒนาระบบนิเวศ
การพัฒนาสังคม การพัฒนามนุษย์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสมดุลของธรรมชาติ
ทั้งนี้มิใช่เพื่อใคร แต่เพื่อลูกหลานของเราชาวเมืองเพชรนั่นเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น